TaxBiz3

⌘K
  1. Home
  2. Docs
  3. TaxBiz3
  4. เครื่องมือ...
  5. นำเข้ารายการ

นำเข้ารายการ


เครื่องมือช่วยในการนำเข้าข้อมูลครั้งละหลายๆรายการจากไฟล์ Excel ข้อมูลที่นำเข้าได้คือข้อมูลทะเบียน และ ข้อมูลการหัก ณ ที่จ่าย ในส่วนของหัวข้อข้อมูลที่นำเข้าได้ 🖱️ดูที่นี่

ความสมบูรณ์ของข้อมูลที่ได้จากจากการนำเข้าจะไม่เหมือนกับการป้อนข้อมูลทีละรายการในแต่ละหน้าจอของโปรแกรม ดังนั้นถ้าข้อมูลที่จะนำเข้ามีไม่กี่รายการแนะนำให้ทำการป้อนข้อมูลโดยตรงในโปรแกรม

กำหนดตำแหน่งคอลัมน์ของข้อมูลใน Excel

ครั้งแรกสุดก่อนที่จะนำเข้าข้อมูลแต่ละประเภท ผู้ใช้ต้องกำหนดค่าเพื่อให้โปรแกรมทราบก่อนว่าข้อมูลอะไรอยู่ที่คอลัมน์ไหนใน Excel การตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. ที่ tab ดำเนินการ ให้กำหนดประเภทของข้อมูล
  2. ที่ tab กำหนดค่า มาที่ตารางกำหนดตำแหน่งคอลัมน์ของข้อมูลใน Excel แล้วระบุในช่องคอลัมน์ของแต่ละหัวข้อว่า ข้อมูลแต่ละหัวข้อนั้นอยู่ในคอลัมน์ไหนของ Excel เช่น วันที่จ่าย ระบุเป็น A, เลขที่ ระบุเป็น B เป็นต้น ถ้าข้อมูลในหัวข้อไหนไม่มีใน Excel ก็ไม่ต้องระบุ ให้เว้นว่างไว้
  3. เรียบร้อยแล้วคลิกที่ปุ่มบันทึกค่าที่กำหนด เพื่อจะได้ไม่ต้องมากำหนดค่าทุกครั้งที่นำเข้า

หมายเหตุ:

  • ทะเบียนนิติบุคคล และบุคคลธรรมดา ใช้การกำหนดค่าร่วมกัน ดังนั้นรูปแบบข้อมูลใน Excel ของทะเบียนทั้งสองต้องเป็นรูปแบบเดียวกัน
  • หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53 สามารถหักได้สูงสุด 3 ประเภทเงินได้ใน 1 เอกสาร ถ้าข้อมูลของท่านมีการหักแค่ 1 ประเภท ก็ให้กำหนดค่าเฉพาะ รายการ 1: เท่านั้น
การนำเข้าข้อมูล

การนำเข้าข้อมูลให้ดำเนินการตามขั้นตอนต่อไปนี้

  1. กำหนดประเภทของข้อมูลที่ต้องการนำเข้า ตามตัวเลือกที่มีให้
  2. กำหนดไฟล์ Excel ที่มีข้อมูลที่จะนำเข้า โดย
    • คลิกที่ปุ่ม ที่อยู่ขวามือของช่องไฟล์ Excel
    • หน้าต่าง Open จะแสดงขึ้นมา ให้เลือกไฟล์ Excel ที่ต้องการ
  3. กรณีนำเข้าข้อมูลทะเบียน ให้ข้ามไปดำเนินที่ข้อ 6 ได้เลย
  4. กำหนดลำดับการยื่น ว่าเป็น ยื่นปกติ หรือ ยื่นเพิ่ม กรณียื่นเพิ่มต้องระบุครั้งที่ด้วย
  5. ทำเครื่องหมายถูกในช่องกำหนดวันที่จ่ายเงินได้ตามนี้ -> กรณีต้องการกำหนดวันที่จ่ายเงินได้เอง โดยไม่สนใจวันที่จ่ายเงินได้ในรายการข้อมูลที่นำเข้า พร้อมทั้งกำหนดวันที่ด้วย
  6. คลิกปุ่มเริ่ม
  7. จะมีหน้าต่างขอการยืนยันให้ตอบ ใช่
  8. รอจนกว่าจะมีข้อความแจ้งการดำเนินการเสร็จสิ้น
  9. ในตารางผลการนำเข้าข้อมูลจะแสดงจำนวนรายการที่นำเข้าได้ และรายการไหนที่นำเข้าไม่ได้จะแสดงข้อบกพร่องให้ทราบ
หัวข้อข้อมูลที่นำเข้า
ข้อมูลทะเบียน
หัวข้อความยาวข้อมูล
สูงสุด (ตัวอักษร)
คำอธิบาย
รหัส15ตัวเลข หรือ ตัวอักษรอังกฤษ ต้องไม่มีเครื่องหมาย และช่องว่าง
ต้องไม่ซ้ำกันในรายการที่จะนำเข้า และต้องไม่ซ้ำกับข้อมูลที่มีอยู่ในฐานข้อมูลนั้น
คำนำหน้า20นาย นาง น.ส. เป็นต้น
ชื่อ120ชื่อบริษัท หรือ ชื่อบุคคลธรรมดา
นามสกุล80เฉพาะบุคคลธรรมดา
เลขประจำตัวผู้เสียภาษี13ตัวเลขเท่านั้น และต้องไม่มีเครื่องหมายใดๆ
สาขาที่5ตัวเลขเท่านั้น
โทรศัพท์50
โทรสาร50
ผู้ติดต่อ80ชื่อ – สกุลผู้ติดต่อ
อาคาร 180
ห้อง 120
ชั้น 120
หมู่บ้าน 160
เลขที่ 120
หมู่ที่ 110ตัวเลขเท่านั้น
ซอย 150
แยก 150
ถนน 150
ตำบล 150
อำเภอ 150
จังหวัด 150
รหัสไปรษณีย์ 15ตัวเลขเท่านั้น
ที่อยู่ออกเอกสาร 2255
เลขที่บัญชี20
หมายเหตุ255

หมายเหตุ

  1. ที่อยู่สำหรับการส่งข้อมูล E-Filling
  2. กรณีไม่สามารถแยกที่อยู่เป็น เลขที่ หมู่ที่ ถนน ฯลฯ ไว้แต่ละคอลัมน์ได้ โปรแกรมจะนำข้อมูลจากที่อยู่ออกเอกสาร ไปแยกใส่ไว้ให้
ข้อมูลหัก ณ ที่จ่าย
หัวข้อความยาวข้อมูล
สูงสุด (ตัวอักษร)
คำอธิบาย
วันที่เอกสาร10วันที่เอกสารหนังสือรับรองหักภาษี ณ ที่จ่าย รูปแบบต้องเป็น dd/mm/yyyy
เลขที่20ต้องไม่ซ้ำกันในรายการที่จะนำเข้า และต้องไม่ซ้ำกับที่มีอยู่ในฐานข้อมูลนั้น
รหัสผู้ถูกหัก20ต้องตรงกับรหัสในทะเบียนนิติบุคคล หรือ บุคคลธรรมดา ของฐานข้อมูลนั้น
เงื่อนไขการหักภาษีตัวเลข 1, 2 หรือ 3 เท่านั้น
1 = หัก ณ ที่จ่าย, 2 = ออกให้ตลอด, 3 = ออกให้ครั้งเดียว
วันที่จ่าย10วันที่จ่ายเงินได้ ใช้แสดงในใบแบบ ภ.ง.ด. และกำหนด ปี และเดือนภาษี
รูปแบบต้องเป็น dd/mm/yyyy
รหัสเงินได้ตัวเลข 1, 2, 3, 4 หรือ 5 เท่านั้น เฉพาะ ภ.ง.ด.1 2, ภ.ง.ด.1ก 2 และ ภ.ง.ด.2 3
ลำดับหัวข้อ 1ตัวเลข 1 ถึง 15 เท่านั้น ตามที่แสดงกำกับไว้ขวามือสุดของแต่ละแถวในหน้า 2 ของหน้าจอบันทึก
หัก ณ ที่จ่าย และหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย
* กรณีที่ใน 1 เอกสารมีมากกว่า 1 หัวข้อ ลำดับหัวข้อต้องไม่ซ้ำกัน
คำอธิบายเงินได้ 130แสดงในช่องประเภทเงินได้ของใบแนบภ.ง.ด.3 และ ภ.ง.ด.53
อัตราภาษี 1ตัวเลขและจุดทศนิยมเท่านั้น
จำนวนเงินได้ที่จ่าย 1ตัวเลขและจุดทศนิยมเท่านั้น
จำนวนภาษีที่หัก 1ตัวเลขและจุดทศนิยมเท่านั้น
จำนวนเงินสมทบ
กองทุนประกันสังคม
ตัวเลขและจุดทศนิยมเท่านั้น เฉพาะ ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก
จำนวนเงินสมทบ
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
ตัวเลขและจุดทศนิยมเท่านั้น เฉพาะ ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก
จำนวนเงินสมทบ
กองทุนครู
ตัวเลขและจุดทศนิยมเท่านั้น เฉพาะ ภ.ง.ด.1 และ ภ.ง.ด.1ก
เลขที่ภายใน20

หมายเหตุ:

  1. ลำดับหัวข้อ คำอธิบายเงินได้ อัตราภาษี จำนวนเงินได้ที่จ่าย และ จำนวนภาษีที่หัก ใน หัก ณ ที่จ่าย ภ.ง.ด.3 และ 53 จะมีข้อความ รายการ 1: , รายการ 2: และ รายการ 3: กำกับไว้ข้างหน้า เนื่องจากสามารถบันทึกได้สูงสุด 3 ประเภทเงินได้ใน 1 เอกสาร
  2. รหัสเงินได้ ภ.ง.ด.1 และ 1ก ให้กำหนดตามนี้
    • 1 = เงินได้ตามมาตรา 40 (1) เงินเดือน ค่าจ้าง ฯลฯ กรณีทั่วไป
    • 2 = เงินได้ตามมาตรา 40 (1) เงินเดือน ค่าจ้าง ฯลฯ กรณีได้รับอนุมัติจากกรมสรรพากรให้หักอัตราร้อยละ 3
    • 3 = เงินได้ตามมาตรา 40 (1) (2) กรณีนายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน
    • 4 = เงินได้ตามมาตรา 40 (2) กรณีผู้รับเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย
    • 5 = เงินได้ตามมาตรา 40 (2) กรณีผู้รับเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย
  3. รหัสเงินได้ ภ.ง.ด.2 ให้กำหนดตามนี้
    • 1 = เงินได้ตามมาตรา 40 (3) ค่าแห่งลิขสิทธิ์ ค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ฯลฯ
    • 2 = เงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ก) ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยพันธบัตร ดอกเบี้ยตั๋วเงิน ฯลฯ
    • 3 = เงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ข) เงินปันผล ฯลฯ
    • 4 = เงินได้ตามมาตรา 40 (4) (ช) เงินผลประโยชน์ที่ได้จากการโอนหุ้น ฯลฯ
    • 5 = เงินได้ตามมาตรา 40 (4) อื่นๆ