Panya HRM

⌘K
  1. Home
  2. Docs
  3. Panya HRM
  4. ระบบเวลาทำงาน...
  5. ส่งผ่านข้อมูล

ส่งผ่านข้อมูล


[Panya HRM] หัวข้อในกลุ่มเมนูนี้เป็นงานประจำที่ทำงวดละครั้ง ประกอบด้วย ประมวลผลการทำงาน, แสดงข้อมูล และ โอนข้อมูล ตามลำดับ

📑ประมวลผลการทำงาน

คือการนำข้อมูลจาก ประวัติรายวัน, บันทึกการลา และ ข้อมูลปรับสภาพพนักงาน มาประมวลผลเพื่อหา จำนวนวันจ่ายเงิน จำนวนชั่วโมงล่วงเวลา ค่าล่วงเวลา รายได้วันทำงาน จำนวนวันขาดงาน เงินหักไม่มาทำงาน และ ขั้นเบี้ยขยัน ของงวดปัจจุบัน การประมวลผลการทำงานจะทำกี่ครั้งก็ได้ตามที่ผู้ใช้ต้องการ

ด้านขวามือของหน้าจอมีตารางแสดงประเภทพนักงานที่จะถูกประมวลผลในงวดนี้ พร้อมกับวันที่เริ่มงวด วันที่สิ้นงวด ให้ผู้ใช้ตรวจสอบว่าใช่ข้อมูลของงวดที่ผู้ใช้ต้องการประมวลผลหรือไม่

ด้านซ้ายแสดงรายชื่อพนักงานที่อยู่ในข่ายประมวลผล(สถานะไม่ใช่ RS และวันที่เริ่มงานเป็นวันที่ก่อนหรือเท่ากับวันที่สิ้นงวด) รายชื่อพนักงานที่ยังไม่ได้ประมวลผลจะเป็นสีนำเงิน ส่วนรายชื่อพนักงานที่ประมวลผลแล้วจะเป็นสีม่วง ผู้ใช้สามารถเลือกประมวลผลเฉพาะพนักงานบางคนได้ โดยทำเครื่องหมายที่หน้ารายชื่อของพนักงานที่ต้องการเท่านั้น ก่อนที่จะคลิกปุ่มคำนวณ

กรณีที่ทำการประมวลผลหลังจากวันที่จ่ายเงินของงวดปัจจุบัน จะมีข้อความแจ้งเตือนแสดงขึ้นมา ให้ท่านทำการตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าใช่งวดที่ต้องการประมวลผลจริงหรือไม่

การคำนวณจำนวนวันขาดงาน
  • กรณีลาเต็มวัน จำนวนวันขาดงาน 🟰จำนวนวันที่ลา
  • กรณีลาครึ่งวัน จำนวนวันขาดงาน 🟰จำนวนวันที่ลา ➗ 2
  • กรณีลาระบุชั่วโมง จำนวนวันขาดงาน 🟰จำนวนชั่วโมงที่ลา ➗ชั่วโมงทำงานต่อกะ ✖️จำนวนวันที่ลา
การคำนวณหักขาดงาน(เฉพาะกรณีกำหนดงวดการหักเงินเอง)
  • หักขาดงาน 🟰 ผลรวมของจำนวนเงินที่หักในบันทึกการลาของงวดคำนวณปัจจุบัน
การคำนวณค่าล่วงเวลา
  • กรณีให้โปรแกรมคำนวณให้อัตโนมัติ
    • คำนวณค่าล่วงเวลาต่อชั่วโมง ตามสูตรการคำนวณที่กำหนดในส่วนจำนวนเงินของรายได้ค่าล่วงเวลา
    • กรณีกำหนดให้คำนวณเป็นวัน
      • ค่าล่วงเวลาแต่ละวัน = จำนวนชั่วโมงที่ทำล่วงเวลาในวันนั้นๆ ✖️จำนวนเท่า ✖️ค่าล่วงเวลาต่อชั่วโมง
      • ค่าล่วงเวลา = ผลรวมของค่าล่วงเวลาแต่ละวัน
    • กรณีกำหนดให้คำนวณเป็นงวด
      • ค่าล่วงเวลา = ผลรวมจำนวนชั่วโมงที่ทำล่วงเวลาในงวดนั้น ✖️จำนวนเท่า ✖️ค่าล่วงเวลาต่อชั่วโมง
  • กรณีไม่ให้โปรแกรมคำนวณให้อัตโนมัติ
    • ค่าล่วงเวลา = จำนวนชั่วโมงที่ทำล่วงเวลา ✖️จำนวนเท่า ✖️ค่าล่วงเวลาต่อชั่วโมงในรายการประวัติรายวัน

🖱️คลิกที่นี่เพื่อดูตารางข้อแตกต่างกรณีให้โปรแกรมคำนวณค่าล่วงเวลาต่อชั่วโมงให้อัตโนมัติ กับ ผู้ใช้กำหนดค่าล่วงเวลาต่อชั่วโมงเอง

💡ข้อแนะนำ

  • หลังจากประมวลผลการทำงานไปแล้ว ภายหลังพบว่ามีพนักงานบางคนลาออกไปแล้ว แต่ยังไม่ได้ใส่วันที่ลาออก ทำให้มีรายการโผล่มาในงวดนี้ กรณีนี้ผู้ใช้ต้องไปใส่วันที่ลาออกที่ข้อมูลพนักงานก่อน และก่อนที่จะประมวลผลการทำงานใหม่ ให้ทำเครื่องหมายที่หน้าช่อง ◻️ลบข้อมูลเดิมทั้งหมดก่อนทำการประมวลผล ด้วย

⚠️ข้อควรระวัง

  • กรณีที่มีการแก้ไข ข้อมูลประวัติรายวัน, ข้อมูลประวัติรายวัน หรือ ข้อมูลปรับสภาพพนักงาน หลังจากที่ได้ประมวลผลการทำงานไปแล้ว จะต้องทำการประมวลผลการทำงานใหม่ทุกครั้ง
  • ถ้าประมวลผลการทำงานใหม่ แล้วต้องไม่ลืมโอนข้อมูลที่ประมวลใหม่ไประบบเงินเดือนด้วย

ในหน้าจอนี้ผู้ใช้สามารถตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากการประมวลผล ก่อนที่จะโอนข้อมูลไปที่ระบบเงินเดือน ถ้าพบข้อมูลที่ไม่เป็นไปตามต้องการให้กลับไปแก้ไขที่ต้นทาง เช่น จำนวนชั่วโมงล่วงเวลาไม่ตรง ให้กลับไปตรวจสอบว่าได้ทำการอนุมัติล่วงเวลาครบถ้วนหรือไม่ หรือ ถ้าจำนวนวันไม่มาทำงานไม่ถูกต้อง ให้กลับไปตรวจสอบว่าบันทึกการลาครบถ้วน และถูกต้องแล้วหรือไม่ เป็นต้น

คือการโอนข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลเวลาทำงาน ไปยังระบบเงินเดือนเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการคำนวณค่าจ้างในขั้นตอนถัดไป ผู้ใช้สามารถเลือกโอนข้อมูลเฉพาะพนักงานบางคนได้ โดยทำเครื่องหมายที่หน้ารายชื่อของพนักงานที่ต้องการเท่านั้น ก่อนที่จะคลิกปุ่มบันทึก

รายชื่อพนักงานที่ยังไม่ได้โอนข้อมูลจะเป็นสีนำเงิน ส่วนรายชื่อพนักงานที่โอนข้อมูลแล้วจะเป็นสีม่วง

ข้อควรระวัง

  • ถ้าประมวลผลการทำงานใหม่ แล้วต้องไม่ลืมโอนข้อมูลที่ประมวลใหม่ไประบบเงินเดือนด้วย
  • ถ้าทำเครื่องหมายที่ช่อง ลบรายการในระบบเงินเดือนของพนักงานที่เลือก ก่อนทำการโอน กรณีนี้ข้อมูลการคำนวณค่าจ้าง และ ข้อมูลการคำนวณภาษีและประกันสังคม เฉพาะของพนักงานที่เลือกจะถูกลบก่อนที่จะโอนข้อมูล
  • ถ้าทำเครื่องหมายที่ช่อง ลบรายการในระบบเงินเดือนทั้งหมด ก่อนทำการโอน กรณีนี้ข้อมูลการคำนวณค่าจ้าง และ ข้อมูลการคำนวณภาษีและประกันสังคม จะถูกลบทั้งหมดก่อนที่จะโอนข้อมูล
🧮การคำนวณขั้นของเบี้ยขยัน

เบี้ยขยันจะคำนวณในขั้นตอนประมวลผลการทำงาน พนักงานที่จะถูกคำนวณเบี้ยขยันต้องเข้าเงื่อนไขต่อไปนี้

  1. ต้องทำงานเต็มงวดเท่านั้น พนักงานที่เข้าใหม่ระหว่างงวด หรือ ลาออกระหว่างงวด จะไม่ถูกนำคำนวณ
  2. มีการกำหนดรูปแบบการจ่ายเบี้ยขยันในข้อมูลพนักงาน
  3. มีการกำหนดให้คำนวณเบี้ยขยันในข้อมูลเงินเดือน

เงื่อนไขที่พนักงานจะได้รับเบี้ยขยันมีดังนี้

  1. ไม่มีการลาที่มีผลต่อเบี้ยขยัน หรือ
  2. มีการลาแต่ยังเป็นไปตามเงื่อนไขที่ยังได้รับเบี้ยขยันอยู่ ตามที่กำหนดไว้ในหน้าจอเบี้ยขยัน

การคำนวณขั้นของเบี้ยขยันจะใช้ข้อมูลขั้นของเบี้ยขยันที่ได้รับในงวดก่อน โดยดูจากข้อมูลเงินเดือนในช่องเบี้ยขยัน (ขั้นที่) แล้วนำมาเปรียบเทียบกับตารางการให้เบี้ยขยัน ถ้ามีขั้นที่สูงกว่าก็จะกำหนดให้เป็นขั้นนั้น แต่ถ้าไม่มีขั้นที่สูงกว่าก็จะไม่เพิ่มขั้นให้ แต่ถ้าในงวดนี้พนักงานไม่ได้รับเบี้ยขยัน ก็จะถูกกำหนดเป็นขั้นที่ 0