Panya HRM

⌘K
  1. Home
  2. Docs
  3. Panya HRM
  4. ระบบเงินเดือน...
  5. 📝ข้อมูลเงินเดือน

📝ข้อมูลเงินเดือน


[Panya HRM] หน้าจอกำหนดทะเบียนเงินเดือนของพนักงาน เงื่อนไขการคำนวณค่าจ้าง ข้อมูลบัญชีธนาคาร และ ข้อมูลเพื่อการลดหย่อนภาษี

หน้าจอข้อมูลเงินเดือนจะแบ่งเป็น 2 ฝั่ง ซ้ายมือเป็นตารางแสดงรายชื่อพนักงาน ส่วนด้านขวาแสดงรายละเอียดข้อมูลเงินเดือนของพนักงานที่เลือก

📑รายละเอียดข้อมูลเงินเดือน

ส่วนสำหรับบันทึกข้อมูลเงินเดือน แบ่งออกเป็น 4 tab ดังนี้

📁เงินเดือน

ข้อมูลใน tab แบ่งออกเป็นส่วนๆดังต่อไปนี้

(a) รายได้

เป็นตารางสำหรับกำหนดจำนวนเงินของรายได้ประเภทต่างๆที่จะจ่ายให้พนักงานในแต่ละงวดเงินเดือน แถวที่พื้นหลังเป็นสีฟ้าคือรายได้ที่เป็นประเภทพิเศษ

ตารางรายได้ประกอบด้วย 4 คอลัมน์ดังนี้

รายได้ประเภทของรายได้ ตามที่กำหนดไว้ที่หน้าจอรายได้ / รายการหัก
จำนวนเงินจำนวนเงินที่จะจ่าย กรณีประเภทปกติโปรแกรมจะใช้จำนวนเงินนี้ในการคำนวณค่าจ้าง ส่วนกรณีประเภทพิเศษ
ผู้ใช้ต้องไปบันทึกจ่ายที่หน้าจอรายได้ /หักพิเศษ
⚠️ค่าล่วงเวลาให้ใส่เป็นจำนวนเงินต่อชั่วโมง
⚠️แถวของเบี้ยขยัน ให้ใส่เป็นตัวเลขของขั้นเบี้ยขยันสุดท้ายที่ได้
⚠️แถวของภาษีที่ออกให้ไม่ต้องใส่จำนวนเงิน
*1กรณีเป็น D หมายถึงในแถวนี้เป็นจำนวนเงินต่อวัน ซึ่งในการจ่ายจะคูณด้วยจำนวนวันในงวด
กรณีเป็นตัวเลข หมายถึงในแถวนี้เป็นจำนวนเงินต่องวด ซึ่งในการจ่ายแต่ละงวดจะหารด้วยตัวเลขที่กำหนด
*2การจ่ายรายได้ กรณีเป็น P หมายถึงจ่ายทุกงวด กรณีเป็น M หมายถึงจ่ายทุกเดือน

หมายเหตุ:

  • คอลัมน์จำนวนเงิน ใส่ข้อมูลได้เฉพาะรายได้ปกติ และรายได้พิเศษที่กำหนดให่ใช้ข้อมูลเงินเดือนเท่านั้น
  • กรณีต้องการให้โปรแกรมคำนวณค่าล่วงเวลาต่อชั่วโมง พร้อมกับใส่ในช่องจำนวนเงินของแถวค่าล่วงเวลา ผู้ใช้จะต้องคลิกปุ่ม OT Calc. ด้วยหลังใส่จำนวนเงินครบทุกแถวในตารางรายได้แล้ว

(b) รายการหัก

เป็นตารางสำหรับกำหนดจำนวนเงินของรายหักประเภทต่างๆที่จะหักพนักงานในแต่ละงวดเงินเดือน ตารางประกอบด้วย 4 คอลัมน์ดังนี้

รายการหักประเภทของรายการหัก ตามที่กำหนดไว้ที่หน้าจอรายได้ / รายการหัก
จำนวนเงินจำนวนเงินที่จะหัก
⚠️แถวของประกันสังคม, ภาษีหัก ณ ที่จ่าย และ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ไม่ต้องใส่จำนวนเงิน
⚠️แถวของหักไม่มาทำงาน และหักมาทำงานสายให้ใส่เป็นจำนวนเงินต่อวัน
*1กรณีเป็นตัวเลข หมายถึงในแถวนี้เป็นจำนวนเงินต่องวด ซึ่งในการหักแต่ละงวดจะหารด้วยตัวเลขที่กำหนด
*2การหักเงิน กรณีเป็น P หมายถึงหักทุกงวด กรณีเป็น M หมายถึงหักทุกเดือน

หมายเหตุ:

  • ให้ผู้ใช้คลิกปุ่ม AB Calc. ถ้าต้องการให้โปรแกรมคำนวณหักไม่มาทำงานต่อวัน พร้อมกับใส่ในช่องจำนวนเงินของแถวหักไม่มาทำงาน
  • ให้ผู้ใช้คลิกปุ่ม Late Calc. ต้องการให้โปรแกรมคำนวณหักมาทำงานสายต่อวัน พร้อมกับใส่ในช่องจำนวนเงินของแถวหักมาทำงานสาย

(c) กำหนดค่าการคำนวณ

คำนวณล่วงเวลาทำเครื่องหมายกรณีต้องการคำนวณค่าล่วงเวลาให้พนักงาน
คำนวณเบี้ยขยันทำเครื่องหมายกรณีต้องการคำนวณเบี้ยขยันให้พนักงาน
คำนวณภาษีทำเครื่องหมายกรณีต้องการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่ายให้พนักงาน
คำนวณประกันสังคมทำเครื่องหมายกรณีต้องการคำนวณเงินสมทบประกันสังคมให้พนักงาน
คำนวณเงินทดแทนทำเครื่องหมายกรณีต้องการนำค่าจ้างของพนักงานไปแสดงในแบบคำนวณจ้างของ กท.20
📁ภาษีและประกันสังคม

ข้อมูลใน tab แบ่งออกเป็นส่วนๆดังต่อไปนี้

(d) ภาษี

เงินได้จากที่อื่นกรณีพนักงานเข้าใหม่และมีรายได้มาก่อนที่จะเข้าบริษัท ให้นำรายได้นั้นมาใส่ในช่องนี้ก่อนที่จะเริ่มคำนวณภาษี
⚠️จำนวนเงินนี้จะไม่แสดงในแบบยื่นภ.ง.ด. และหนังสือรับรองการหักภาษี ณที่จ่าย
ภาษีจากที่อื่นกรณีพนักงานเข้าใหม่และมีภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่ายไว้มาก่อนที่จะเข้าบริษัท ให้นำภาษีที่ถูกหักนั้นมาใส่ในช่องนี้
ก่อนที่จะเริ่มคำนวณภาษี
⚠️จำนวนเงินนี้จะไม่แสดงในแบบยื่นภ.ง.ด. และหนังสือรับรองการหักภาษี ณที่จ่าย
เงินได้สะสมรวมเงินได้ที่ต้องคำนวณภาษีของพนักงาน ตั้งแต่งวดแรกของปีจนถึงงวดสุดท้ายที่ปิดสิ้นงวดไป ซึ่งโปรแกรม
จะคำนวณให้ทุกครั้งที่ปิดสิ้นงวด
⚠️การแก้ไขจำนวนเงินในช่องนี้จะมีผลต่อการคำนวณภาษีในงวดถัดๆไป
ภาษีสะสมรวมภาษีที่ถูกหักของพนักงาน ตั้งแต่งวดแรกของปีจนถึงงวดสุดท้ายที่ปิดสิ้นงวดไป ซึ่งโปรแกรมจะคำนวณให้
ทุกครั้งที่ปิดสิ้นงวด
⚠️การแก้ไขจำนวนเงินในช่องนี้จะมีผลต่อการคำนวณภาษีในงวดถัดๆไป
การคำนวณภาษีเลือกเงื่อนไขการหักภาษีของพนักงาน

(e) ประกันสังคม

ค่าจ้างก่อนเข้ากรณีพนักงานเข้าใหม่และมีค่าจ้างที่ต้องคำนวณประกันสังคมมาก่อนที่จะเข้าบริษัท สามารถนำมาใส่ในช่องนี้ได้
เงินสมทบก่อนเข้ากรณีพนักงานเข้าใหม่และได้มีการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมมาก่อนที่จะเข้าบริษัท ให้นำมาใส่ในช่องนี้ก่อน
ที่จะเริ่มคำนวณภาษี
ค่าจ้างรวมค่าจ้างที่ต้องคำนวณประกันสังคมของพนักงาน ตั้งแต่งวดแรกของปีจนถึงงวดสุดท้ายที่ปิดสิ้นงวดไป
ซึ่งโปรแกรมจะคำนวณให้ทุกครั้งที่ปิดสิ้นงวด
เงินสมทบรวมเงินสมทบประกันสังคมของพนักงาน ตั้งแต่งวดแรกของปีจนถึงงวดสุดท้ายที่ปิดสิ้นงวดไป ซึ่งโปรแกรม
จะคำนวณให้ทุกครั้งที่ปิดสิ้นงวด
⚠️การแก้ไขจำนวนเงินในช่องนี้จะมีผลต่อการคำนวณภาษีในงวดถัดๆไป

(f) ค่าลดหย่อน

ส่วนสำหรับบันทึกค่าลดหย่อน / ยกเว้นสำหรับการคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย แบ่งออกเป็น 2 tab ดังนี้

📁ค่าลดหย่อนบิดามารดา, บุตร

เลขประจำตัว ปชช.ใส่เลขปชช.ของบิดามารดาที่พนักงานขอลดหย่อนค่าเลี้ยงดู หรือ ขอลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพ
หักค่าเลี้ยงดูทำเครื่องหมายที่แถวของ บิดาตนเอง, มารดาตนเอง, บิดาคู่สมรส, มารดาสมรส ที่พนักงานขอลดหย่อน
ค่าเลี้ยงดู
หักเบี้ยประกันสุขภาพทำเครื่องหมายที่แถวของ บิดาตนเอง, มารดาตนเอง, บิดาคู่สมรส, มารดาสมรส ที่พนักงานขอลดหย่อน
เบี้ยประกันสุขภาพ
จำนวนบุตร
คนละ 30,000
ใส่จำนวนบุตรที่พนักงานขอหักค่าลดหย่อนบุตร คนละ 30,000 บาท พร้อมทั้งเลขประจำตัว ปชช.ของบุตรในช่อง 1 ถึง 6
ที่อยู่ด้านล่างให้ครบตามจำนวนบุตร
จำนวนบุตร
คนละ 60,000
ใส่จำนวนบุตรที่พนักงานขอหักค่าลดหย่อนบุตร คนละ 60,000 บาท พร้อมทั้งเลขประจำตัว ปชช.ของบุตรในช่อง 1 ถึง 5
ที่อยู่ด้านล่างให้ครบตามจำนวนบุตร

📁ค่าลดหย่อนอื่นๆ

เบี้ยประกันชีวิตใส่เบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้ ที่ขอลดหย่อน
เบี้ยประกันชีวิตคู่สมรสใส่เบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรส ที่ขอลดหย่อน
เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญใส่เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ ที่ขอลดหย่อน
เบี้ยประกันสุขภาพใส่เบี้ยประกันสุขภาพ ที่ขอลดหย่อน
ดอกเบี้ยเงินกู้
สำหรับที่อยู่อาศัย
ใส่ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารอยู่อาศัย ที่ขอลดหย่อน
RMFใส่ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ ที่ขอลดหย่อน
SSFใส่ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม SSF ที่ขอลดหย่อน
ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการใส่ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการ ที่ขอลดหย่อน
เงินสะสมกองทุนการออมใส่เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ ที่ขอลดหย่อน
ฝากครรภ์และคลอดบุตรใส่ค่าฝากครรภ์และค่าคลอดบุตร ที่ขอลดหย่อน
เงินบริจาคพรรคการเมืองใส่เงินที่บริจาคแก่พรรคการเมือง ที่ขอลดหย่อน
เงินสะสมกองทุนครูใส่เงินสะสมกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน
เงินได้ที่ได้รับยกเว้นใส่เงินได้ที่ได้รับยกเว้น พร้อมระบุว่าเป็นกรณี อายุ 65 ปีหรือสูงกว่า หรือ กรณีผู้พิการ(ที่อายุไม่ถึง 65 ปี)
เงินชดเชยใส่เงินค่าชดเชยที่ได้รับตามกฎหมายแรงงาน (ยกเว้นกรณีเกษียณ หรือ สิ้นสุดสัญญาจ้าง)
รหัสพรรคการเมืองระบุรหัสพรรคการเมือง กรณีประสงค์อุดหนุนเงินภาษีให้พรรคการเมืองที่ระบุ
เงินลงทุนในหุ้นวิสาหกิจเพื่อสังคมใส่เงินลงทุนในหุ้น หรือการเป็นหุ้นส่วนเพื่อจัดตั้ง หรือเพิ่มทุนบริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล
ที่ได้รับจดทะเบียนวิสาหกิจเพื่อสังคม และได้จดแจ้งการเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคม
กองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน(Thai ESG)ใส่ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG)
📁กองทุนสำรอง/ธนาคาร

(g) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ

อัตราสะสมแยกเป็นส่วนของพนักงาน และส่วนของบริษัท
สะสมทั้งปีเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่นำส่งตั้งแต่งวดแรกจนถึงงวดล่าสุดที่ปิดงวดไปแล้ว แยกเป็นส่วนของพนักงาน และส่วนของบริษัท
(โปรแกรมจะสะสมให้เมื่อปิดสิ้นงวด)
ฐานรายได้ที่ใช้คำนวณรวมรายได้ที่เป็นฐานในการคำนวณเงินสะสมตั้งแต่งวดแรกจนถึงงวดล่าสุดที่ปิดงวดไปแล้ว
(โปรแกรมจะสะสมให้เมื่อปิดสิ้นงวด)
วันที่สมัครเป็นข้อมูลอ้างอิงเท่านั้น ไม่มีการนำไปใช้งานในโปรแกรม
วันที่ลาออกเป็นข้อมูลอ้างอิงเท่านั้น ไม่มีการนำไปใช้งานในโปรแกรม

(h) ธนาคาร

บัญชีของพนักงานใส่เลขที่บัญชีธนาคารของพนักงาน(ต้องไม่มีเครื่องหมาย) และ รหัสธนาคาร (การเพิ่ม หรือ แก้ไขตัวเลือกต้องไปทำที่หน้าจอธนาคาร)
ใช้บริการจ่ายเงินเดือนรหัสธนาคารที่บริษัทใช้บริการจ่ายเงินเดือน (การเพิ่ม หรือ แก้ไขตัวเลือกต้องไปทำที่หน้าจอธนาคาร)
📁ประวัติรายได้/รายหัก

(i) ประวัติรายได้

ตารางแสดงรายได้ตั้งแต่งวดแรกจนถึงงวดล่าสุด

(j) ประวัติรายการหัก

ตารางแสดงรายการหักตั้งแต่งวดแรกจนถึงงวดล่าสุด