Panya HRM

⌘K
  1. Home
  2. Docs
  3. Panya HRM
  4. ระบบเงินเดือน...
  5. 📝ปรับสภาพพนักงาน

📝ปรับสภาพพนักงาน


ใช้ในกรณีที่มีการปรับสภาพการจ้างของพนักงาน เช่นพ้นทดลองงาน , ปรับค่าจ้าง หรือ ปรับตำแหน่ง และมีผลกระทบต่อการคำนวณเงินเดือน ซึ่งโปรแกรมจะนำข้อมูลนี้มาปรับใช้ในการคำนวณเงินเดือนให้ตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้

และเมื่อทำการปิดงวดสิ้นเดือน โปรแกรมจะทำการอัพเดทสภาพการจ้าง และเคลียร์รายการในนี้ให้ ผู้ใช้ห้ามทำการลบรายการเอง

หัวข้อเนื้อหา
 📑ข้อมูลที่ต้องบันทึก
 📑วิธีการปรับสภาพ
   1️⃣ปรับสภาพรายบุคคล
   2️⃣ปรับสภาพเป็นกลุ่ม
 ⚠️ข้อควรระวัง

📑 ข้อมูลที่ต้องบันทึก

หัวข้อคำอธิบาย
รหัสพนักงานรหัสของพนักงานที่จะปรับสภาพ
มีผล ณ วันที่กำหนดวันที่เริ่มใช้สภาพการจ้างใหม่
เหตุผลเลือกจากตัวเลือกที่มี (พ้นทดลองงาน , ปรับเงินเดือน หรือ ปรับตำแหน่ง)
เกรดเป็นข้อมูลอ้างอิงเท่านั้น จะระบุหรือไม่ก็ได้
ระดับพนักงานถ้ามีการปรับ ให้ปรับเปลี่ยนตัวเลือกที่ช่องใหม่
ตำแหน่งถ้ามีการปรับ ให้ปรับเปลี่ยนตัวเลือกที่ช่องใหม่
ประเภทพนักงานถ้ามีการปรับ ให้ปรับเปลี่ยนตัวเลือกที่ช่องใหม่
รายได้ / รายหักถ้ามีการปรับ ให้เปลี่ยนจำนวนเงินในคอลัมน์ใหม่
*กรณีมีการปรับประเภทพนักงาน จากรายวันเป็นรายเดือน หรือ รายเดือนเป็นรายวัน
ให้ตรวจสอบรายการรายได้ A01 เป็นพิเศษว่าจำนวนเงินระบุเป็น ต่อวัน หรือ ต่อครั้ง
ถูกต้องหรือไม่
จำนวนวันใหม่ / วันเก่าค่าเริ่มต้นโปรแกรมจะคำนวณจากวันที่ในช่อง มีผล ณ วันที่
-กรณีที่ผู้ใช้กำหนดเงื่อนไขการปรับรายได้เป็นอัตโนมัติ โปรแกรมจะใช้ค่าเริ่มต้นนี้ในการคำนวณ
-กรณีผู้ใช้กำหนดเงื่อนไขการปรับรายได้เป็นกำหนดเอง ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนค่าในช่องต่างๆ
เหล่านี้ตามที่ต้องการ
-จำนวนวันใหม่ / วันเก่าจะมีผลเฉพาะกับรายการรายได้ / รายหักที่กำหนดการปรับรายได้เป็น A
(เฉลี่ยรายได้เก่ากับใหม่) เท่านั้น
จำนวนวันแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ ในงวดที่ปรับ และ ในเดือนที่ปรับ
-กรณีจ่ายค่าจ้าง 1 ครั้งต่อเดือน จำนวนวันใน 2 กลุ่มนี้จะเป็นค่าเดียวกัน
-กรณีจ่ายค่าจ้างมากกว่า 1 ครั้งต่อเดือน จำนวนวันใน 2 กลุ่มนี้จะแตกต่างกัน
จำนวนวันแบ่งเป็น 2 แถว คือ วันสำหรับค่าจ้างต่อวัน และ วันสำหรับค่าจ้างต่อครั้ง
-ถ้ารายได้ / รายหักนั้น กำหนดเป็นต่อวัน โปรแกรมจะใช้ข้อมูลจากแถววันสำหรับค่าจ้างต่อวัน
ในการคำนวณ
-ถ้ารายได้ / รายหักนั้น กำหนดเป็นต่อครั้ง โปรแกรมจะใช้ข้อมูลจากแถววันสำหรับค่าจ้างต่อครั้ง
ในการคำนวณ

หมายเหตุ:

  • จะดูว่ารายได้ / รายหัก รายการไหนเป็นต่อวัน หรือ ต่อครั้ง ต้องไปดูที่ กำหนดค่า > รายได้ / รายการหัก
  • จะดูว่ารายได้ / รายหัก รายการไหนกำหนดการปรับรายได้เป็น A หรือ N ต้องไปดูที่ กำหนดค่า > รายได้ / รายการหัก
  • การกำหนดเงื่อนไขการปรับรายได้เป็น อัตโนมัติ หรือ กำหนดเอง ต้องไปกำหนดที่ กำหนดค่า > ค่าพื้นฐานระบบ
  • ค่าเริ่มต้นของจำนวนวันใหม่ / เก่า โปรแกรมมีการคำนวณดังนี้
    • วันสำหรับค่าจ้างต่อวัน จะคำนวณเฉพาะวันจ่ายค่าจ้างตามที่กำหนดปฏิทินบริษัทไว้
    • วันสำหรับค่าจ้างต่อครั้ง จะคำนวณจำนวนวันที่เป็นอัตราค่าจ้างเก่าก่อน จากนั้นนำจำนวนวันที่ได้ไปลบจาก 30 เหลือเท่าไรถือเป็นจำนวนวันตามอัตราค่าจ้างใหม่
  • กรณีที่ทำเครื่องหมายในช่อง คำนวณอัตราต่อวัน โปรแกรมจะทำการคำนวณอัตราใหม่ของ ค่าล่วงเวลา หักไม่มาทำงาน และ หักมาทำงานสาย เมื่อผู้ใช้ทำการบันทึกการปรับสภาพ

📑 วิธีการปรับสภาพ

ทำได้ 2 วิธีดังต่อไปนี้

1️⃣ ปรับสภาพรายบุคคล

เหมาะกับกรณีต้องการปรับสภาพพนักงานไม่กี่คน และแต่ละคนมีการปรับสภาพที่แตกต่างกัน

  1. คลิกปุ่มเพิ่ม
  2. กำหนดรหัสพนักงาน (หลังกำหนดข้อมูลปัจจุบันของพนักงานจะแสดงให้อัตโนมัติ)
  3. กำหนดวันที่มีผล (หลังกำหนดจะแสดงค่าเริ่มต้นของจำนวนวันใหม่ / วันเก่าให้)
  4. กำหนดค่าใหม่ตามที่ต้องการ
  5. กรณีกำหนดเงื่อนไขการปรับรายได้เป็นกำหนดเอง ให้ปรับจำนวนวันใหม่ / วันเก่า ตามที่ผู้ใช้ต้องการ
  6. กรณีต้องการให้โปรแกรมคำนวณอัตราใหม่ของ ค่าล่วงเวลา หักไม่มาทำงาน และ หักมาทำงานสาย ให้ทำเครื่องหมายในช่องคำนวณอัตราต่อวัน
  7. คลิกปุ่มบันทึก
2️⃣ ปรับสภาพเป็นกลุ่ม

เหมาะกับกรณีต้องการปรับสภาพพนักงานหลายคนพร้อมกัน โดยที่ทุกคนมีเงื่อนไขการปรับสภาพเหมือนกัน เช่น ปรับค่าขึ้นจ้าง 3% หรือ ปรับขึ้นค่าจ้าง 10 บาททุกคนเป็นต้น

เปิดเครื่องมือช่วยโดยกดคีย์ F8 ที่แป้นพิมพ์ หลังจากหน้าจอเปิดขึ้นมาให้คลิกปุ่มเพิ่ม จากนั้นให้ดำเนินการตามนี้

มาที่ tab กำหนดเงื่อนไข แล้วทำการ

  • กำหนด รหัสรูปแบบ และ คำอธิบาย (ส่วนที่ 1 ตามภาพด้านขวา)
  • กำหนด การกรองข้อมูล (ส่วนที่ 2 ตามภาพด้านขวา)
  • ที่ตารางด้านซ้ายมือ
    • ที่คอลัมน์เลือก ทำเครื่องหมายหน้าประเภทรายได้ที่ต้องการปรับ
    • ที่คอลัมน์เงื่อนไขการปรับ เลือกเงื่อนไขตามที่ต้องการ
    • ที่คอลัมน์จำนวน ใส่จำนวนเงิน หรือ เปอร์เซ็นต์ที่จะปรับ

เรียบร้อยแล้วคลิกปุ่มบันทึก เพื่อเก็บรูปแบบนี้ไว้ก่อน

มาที่ tab ข้อมูลการปรับ แล้ว

  • คลิกปุ่มแก้ไข
  • คลิกปุ่มแสดงรายชื่อ รอสักครู่รายชื่อพนักงานที่อยู่ในข่ายการกรองข้อมูลที่กำหนดไว้ใน tab กำหนดเงื่อนไข จะแสดงในตาราง
  • ที่คอลัมน์เลือก ให้ทำเครื่องหมายหน้ารายชื่อที่ต้องการปรับ (คลิกปุ่มเลือก ถ้าต้องการเลือกทุกคน)
  • ต้องการตรวจสอบดูว่าพนักงานคนไหนปรับเท่าไร ให้คลิกที่รายชื่อในตารางให้พื้นหลังเป็นแถบสีเข้ม แล้วในตารางด้านขวาจะแสดงจำนวนเงินให้

จากนั้นไปที่ tab การโอนข้อมูล

มาที่ tab การโอนข้อมูล

  • ที่ช่อง มีผล ณ วันที่ ให้ระบุวันที่ปรับ
  • ที่ช่องเหตุผล ให้เลือกเหตุผลการปรับ
  • คลิกปุ่มโอนข้อมูล
  • ยืนยันการโอนข้อมูล
  • หลังโอนข้อมูลข้อมูลเสร็จสิ้นให้ปิดหน้าจอนี้

⚠️ ข้อควรระวัง

  • ในช่วงระยะเวลาของการปรับสภาพพนักงาน การคำนวณเงินเดือนจะใช้ข้อมูล รายได้ / รายหัก ตามที่บันทึกในการปรับสภาพพนักงานเท่านั้น จะไม่ใช้ข้อมูลจากทะเบียนเงินเดือนเหมือนเวลาปกติ
  • ถ้าผู้ใช้ไม่ได้กำหนดให้โปแกรมคำนวณค่าล่วงเวลาให้อัตโนมัติ หลังจากบันทึกการปรับสภาพแล้วต้องทำการประกาศกะใหม่ ไม่เช่นนั้นค่าล่วงเวลาต่อชั่วโมงจะเป็นอัตราเก่า
  • ต้องบันทึกการปรับสภาพก่อนการประมวลผลการทำงาน
  • กรณีพนักงานลาออก หรือ เข้าใหม่ ต้องไปกำหนดจำนวนวันใหม่ / เก่า ในหน้าจอปรับสภาพให้ตรงกับที่ผู้ใช้ต้องการ