Panya HRM

⌘K
  1. Home
  2. Docs
  3. Panya HRM
  4. ระบบเงินเดือน...
  5. 🧮งวดพิเศษ

🧮งวดพิเศษ


[Panya HRM] กรณีต้องการจ่ายเฉพาะเงินได้พิเศษแยกออกมาจากงวดปกติ ผู้ต้องใช้กำหนดงวดพิเศษขึ้นมา ทำการบันทึกรายได้พิเศษ คำนวณงวดพิเศษ แล้วปิดงวดพิเศษให้เสร็จสิ้นก่อนที่จะทำงวดปกติ

ขั้นตอนการทำงววดพิเศษ
 1️⃣ กำหนดงวดพิเศษ 
 2️⃣ บันทึกรายได้
 3️⃣ คำนวณงวดพิเศษ
 4️⃣ ปิดงวด

1️⃣ กำหนดงวดพิเศษ

แรกสุดต้องกำหนดงวดพิเศษขึ้นมาก่อน โดยเปิดหน้าจอกำหนดงวดพิเศษ แล้วคลิกปุ่มเพิ่ม จากนั้นกำหนดค่าต่างๆตามนี้

หัวข้อคำอธิบาย
รหัสงวดพิเศษควรเริ่มต้นด้วยตัวอักษร และไม่ซ้ำกับงวดที่มีอยู่ (ความยาวไม่เกิน 5 ตัวอักษร)
คำอธิบายใส่ข้อความตามที่ต้องการ (ความยาวไม่เกิน 50 ตัวอักษร)
เดือนเดือนที่ยื่นภาษี และ ประกันสังคม
ปีปีปัจจุบัน
วันที่จ่ายเงินให้อยู่ในเดือนที่ยื่นภาษี
วันที่ เริ่ม / สิ้น งวดกำหนดช่วงวันที่ งวดพิเศษจะคำนวณให้เฉพาะพนักงานยังทำงานอยู่ในช่วงนี้เท่านั้น (เริ่มงานหลัง หรือ
ออกก่อน จะไม่คำนวณให้)
ประเภทพนักงานเลือกประเภทพนักงานที่ต้องการคำนวณจ่ายในงวดพิเศษนี้ (ทำเครื่องหมายหน้าประเภทพนักงานที่ต้องการ)
ประเภทรายได้
พิเศษที่จ่าย
เลือกประเภทรายได้พิเศษที่คำนวณจ่ายในงวดพิเศษนี้ (ทำเครื่องหมายหน้าประเภทรายได้ที่ต้องการ)

กำหนดค่าเรียบร้อยแล้วอย่าลืมคลิกปุ่มบันทึกด้วย

2️⃣ บันทึกรายได้

ต่อมาต้องกำหนดว่าจะจ่ายเงินให้ใคร และจ่ายเท่าไร ให้เปิดหน้าจอบันทึกรายได้ขึ้นมา จะเห็นว่าข้อมูลที่ต้องบันทึกมีดังนี้

หัวข้อคำอธิบาย
รหัสพนักงานเลือกรหัสพนักงานที่ต้องการ
งวดที่เลือกงวดพิเศษที่จะจ่าย
เลขที่เอกสารเว้นว่างได้
หัวข้อรายการเลือกประเภทรายได้ที่จะจ่าย (ตัวเลือกจะแสดงเฉพาะประเภทรายได้พิเศษที่จ่ายตามที่กำหนดในหน้าจอ
กำหนดงวดพิเศษ)
จำนวนเงินใส่จำนวนเงินที่จะจ่าย
จำนวนครั้งระบุจำนวนครั้ง (ค่าเริ่มต้นคือ 1)
จำนวนเงินรวมจะคำนวณให้จาก จำนวนเงิน x จำนวนครั้ง
หมายเหตุใส่ข้อความตามที่ต้องการ หรือ เว้นว่าง

สำหรับการบันทึกรายได้มี 4 วิธีด้วยกัน

  • บันทึกเป็นรายบุคคล : เหมาะสมกรณีจ่ายเงินให้แต่ละคนเป็นจำนวนไม่เท่ากัน และมีจำนวนคนไม่มาก
  • ใช้เครื่องมือช่วย : เหมาะสมกรณีจ่ายเงินประเภทเดียวกันเป็นจำนวนเท่าๆกัน
  • โอนรายการจากไฟล์ CSV : เหมาะสมในกรณีจ่ายเงินให้แต่ละคนเป็นจำนวนไม่เท่ากัน และจำนวนคนมีมาก แต่จะต้องกำหนดรูปแบบคอลัมน์ใน excel ให้ตรงกับที่โปรแกรมต้องการ และข้อมูลรหัสพนักงานใน excel ต้องตรงกับในโปรแกรมทุกตัวอักษร
  • นำเข้าจากไฟล์ Excel : เช่นเดียวกันกับกรณีโอนรายการจากไฟล์ CSV แต่ต้องไปดำเนินการใน HR3 Tool
วิธีบันทึกเป็นรายบุคคล
  1. คลิกปุ่มเพิ่ม
  2. ทำการทึกข้อมูลต่างๆ
  3. เรียบร้อยแล้วคลิกปุ่มบันทึก

ทำเช่นนี้ไปจนครบทุกคน

ใช้เครื่องมือช่วย
  1. กดคีย์ F8 (กรณีเครื่อง Notebook อาจต้องกดคีย์ Fn + F8 )
  2. หน้าจอเครื่องมือช่วยจะแสดงขึ้นมา
  3. ไปที่ tab เพิ่มรายการ
  4. กำหนดข้อมูลต่างๆ
  5. ที่ด้านซ้ายทำเครื่องหมายหน้าชื่อพนักงานที่ต้องการบันทึกข้อมูล
  6. เรียบร้อยแล้วคลิกปุ่มบันทึก
โอนรายการจากไฟล์ CSV
  1. กดคีย์ F8 (กรณีเครื่อง Notebook อาจต้องกดคีย์ Fn + F8 )
  2. หน้าจอเครื่องมือช่วยจะแสดงขึ้นมา
  3. ไปที่ tab โอนรายการ
  4. เลือกงวดที่
  5. กำหนดตำแหน่งคอลัมน์
  6. กำหนดตำแหน่งของแถว
  7. คลิกปุ่มบันทึกรูปแบบ เพื่อไว้ใช้งานภายหลัง
  8. ที่ช่องอ่านข้อมูลจากไฟล์ คลิกที่ปุ่ม เพื่อเปิดหน้าต่างเลือกไฟล์
  9. ที่หน้าต่างเลือกไฟล์ (Select files …..) เลือกไฟล์ CSV ที่ต้องการโอนรายการ
  10. ที่ช่องด้านล่างจะแสดงข้อมูลที่อ่านได้จากไฟล์ CSV ที่เลือก และ ในตารางด้านล่างจะแสดงการจัดรูปแบบของข้อมูลตามที่กำหนด
  11. ให้ตรวจสอบจากตารางว่าสามารถอ่านข้อมูลได้ตรงตามที่ต้องการหรือไม่ ถ้ายังไม่ตรงให้ดำเนินการตามข้อที่ 5 ถึง 9 ใหม่
  12. ที่ด้านซ้ายทำเครื่องหมายหน้าชื่อพนักงานที่ต้องการบันทึกข้อมูล
  13. เรียบร้อยแล้วคลิกปุ่มบันทึก
  14. หน้าจอเครื่องมือช่วยจะปิดตัวลงหลังจากบันทึกเสร็จสิ้นแล้ว

รายการรายได้ที่เกิดจากการโอนรายการ จะมีเลขที่เอกสารกำกับไว้ และ ข้อความ “นำเข้า” ในช่องหมายเหตุ

นำเข้าจากไฟล์ Excel

🖱️คลิกที่นี่ เพื่ออ่านวิธีการนำเข้าโดยใช้ HR3 Tool

3️⃣ คำนวณงวดพิเศษ

หลังจากทำการบันทึกรายได้ครบถ้วนแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือคำนวณงวดพิเศษ ซึ่งจะคำนวณเงินได้ และ ภาษี ไปพร้อมกันในขั้นตอนเดียว จะแตกต่างจากงวดปกติคือรายได้/รายหักประจำ, เงินสมทบประกันสังคม และ เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะไม่มีการคำนวณในงวดพิเศษ

หลังจากคำนวณงวดพิเศษแล้ว ให้ผู้ใช้เปิดหน้าจอแสดงข้อมูลเพื่อตรวจสอบข้อมูลที่ได้จากการคำนวณ ว่าตรงตามที่ต้องการหรือไม่ ถ้าไม่ตรงก็ให้กลับไปดำเนินการในขั้นตอนบันทึกรายได้ และ คำนวณงวดพิเศษใหม่

หมายเหตุ:

  • ถ้ามีหน้าต่างขอการยืนยัน ที่แจ้งว่า พบข้อมูลของงวดคำนวณที่ x ในระบบเงินเดือน !!! แสดงว่าผู้ใช้มีการคำนวณงวดที่ x ไว้ก่อนหน้านี้
    • กรณีที่ท่านลืมปิดงวดที่ x ก็ให้ตอบ [No] แล้วไปดำเนินการปิดงวดที่ x ก่อน
    • กรณีต้องการคำนวณงวดพิเศษก่อน แล้วจะกลับไปดำเนินการคำนวณงวดที่ x ใหม่ในภายหลัง ให้ตอบ [Yes] ซึ่งกรณีนี้ข้อมูลการคำนวณของงวดที่ x จะหายไป

4️⃣ ปิดงวด

หลังจากจ่ายเงินงวดพิเศษให้พนักงานแล้ว ต้องทำการปิดงวดก่อนที่จะทำงวดถัดไป วิธีการก็เป็นไปตามการปิดงวดปกติ คือ ไปที่หน้าหลัก > งานสิ้นงวด > ปิดสิ้นงวด

🖱️คลิกที่นี่ เพื่ออ่านวิธีการปิดสิ้นงวด