Panya HRM

⌘K
  1. Home
  2. Docs
  3. Panya HRM
  4. ระบบเงินเดือน...
  5. 🧮คำนวณเงินเดือน

🧮คำนวณเงินเดือน


[Panya HRM] หัวข้อในกลุ่มเมนูนี้เป็นงานประจำที่ทำงวดละครั้ง ประกอบด้วย คำนวณค่าจ้าง, แก้ไขข้อมูล และ คำนวณภาษีและประกันสังคม ตามลำดับ

📑คำนวณค่าจ้าง

คือการนำข้อมูลจาก ข้อมูลเงินเดือน, ข้อมูลที่บันทึกรายได้/หักพิเศษ, ข้อมูลปรับสภาพพนักงาน และ ข้อมูลที่โอนจากระบบเวลาทำงาน(ค่าล่วงเวลา หักไม่มาทำงาน เงินได้วันทำงาน และขั้นของเบี้ยขยัน) มาคำนวณค่าจ้างของงวดนั้นๆ การคำนวณค่าจ้างจะทำกี่ครั้งก็ได้ตามที่ผู้ใช้ต้องการ

ด้านขวามือของหน้าจอมีตารางแสดงประเภทพนักงานที่จะถูกคำนวณค่าจ้างในงวดนี้ พร้อมกับวันที่เริ่มงวด วันที่สิ้นงวด ให้ผู้ใช้ตรวจสอบว่าใช่ข้อมูลของงวดที่ผู้ใช้ต้องการคำนวณหรือไม่

ด้านซ้ายแสดงรายชื่อพนักงาน รายชื่อพนักงานที่ยังไม่ได้คำนวณจะเป็นสีนำเงิน ส่วนรายชื่อพนักงานที่คำนวณแล้วจะเป็นสีม่วง ผู้ใช้สามารถเลือกคำนวณเฉพาะพนักงานบางคนได้ โดยทำเครื่องหมายที่หน้ารายชื่อของพนักงานที่ต้องการเท่านั้น ก่อนที่จะคลิกปุ่มคำนวณ

⚠️ กรณีที่ทำการคำนวณค่าจ้างหลังจากวันที่จ่ายเงินของงวดปัจจุบัน จะมีข้อความแจ้งเตือนแสดงขึ้นมา 
   ให้ท่านทำการตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าใช่งวดที่ต้องการคำนวณจริงหรือไม่
📄การคำนวนรายได้ปกติต่อวัน
  • รายได้ในข้อมูลเงินเดือน ✖️ จำนวนวันจ่าย
📄การคำนวณรายได้ปกติต่อครั้ง
  • กรณีทำงานเต็มงวด
    • รายได้ในข้อมูลเงินเดือน ➗ ตัวเลขในคอลัมน์ *1 ของตารางรายได้/รายหัก
  • กรณีทำงานไม่เต็มงวด(เช่น เข้าใหม่ หรือ ลาออก)
    • (รายได้ในข้อมูลเงินเดือน ➗ ตัวเลขในคอลัมน์ *1 ของตารางรายได้ ➗ วันในการหาร) ✖️ จำนวนวันทั้งหมด

⚠️ข้อควรระวัง:

  • กรณีที่มีการแก้ไข ข้อมูลเงินเดือน, ข้อมูลรายได้/หักพิเศษ, ข้อมูลปรับสภาพพนักงาน หรือ มีการโอนข้อมูลจากระบบเวลาทำงาน หลังจากที่ได้คำนวณค่าจ้างไปแล้ว จะต้องทำการคำนวณค่าจ้างใหม่ทุกครั้ง
  • กรณีที่มีการแก้ไขจำนวนเงินในหน้าจอแก้ไขข้อมูล ถ้าทำการคำนวณค่าจ้างใหม่ ข้อมูลที่ได้แก้ไขไปจะถูกแทนที่ด้วยข้อมูลจากการคำนวณค่าจ้าง
  • ถ้าคำนวณค่าจ้างใหม่ แล้วต้องไม่ลืมคำนวณภาษีและประกันสังคมด้วย
  • กรณีมีการปรับสภาพพนักงาน จะใช้ข้อมูลเงินเดือนที่บันทึกในการปรับสภาพแทนข้อมูลเงินเดือนปกติ

📑แก้ไขข้อมูล

หลังจากผ่านการคำนวณค่าจ้างแล้ว ผู้ใช้สามารถตรวจสอบเงินได้ / เงินหักของพนักงานแต่ละคนได้ในหน้าจอนี้ ถ้าพบว่ามีรายการไหนไม่ตรงตามที่ต้องการสามารถแก้ไขในหน้าจอนี้ได้

จำนวนเงินภาษี และ ประกันสังคม ของรายการที่ยังไม่ได้คำนวณภาษีและประกันสังคมจะเป็นสีเทา สำหรับรายการที่คำนวณภาษีและประกันสังคมแล้วจำนวนเงินจะเป็นสีนำเงิน และกรณีที่มีการแก้ไขข้อมูลหลังจากคำนวณภาษีและประกันสังคมแล้วจำนวนเงินจะเป็นสีแดง

⚠️ข้อควรระวัง:

  • จำนวนเงินที่แก้ไขในหน้าจอนี้จะถูกเปลี่ยนแปลงไปถ้าทำการคำนวณค่าจ้างใหม่
  • จำนวนเงินประกันสังคม และ ภาษีหัก ณ ที่จ่าย จะถูกเปลี่ยนแปลงไปถ้าทำการคำนวณภาษีประกันสังคมใหม่

📑คำนวณภาษีและประกันสังคม

คือการคำนวณเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และ เงินสมทบกองทุนประกันสังคม จะคำนวณกี่ครั้งก็ได้ตามที่ผู้ใช้ต้องการ และสามารถเลือกคำนวณเฉพาะพนักงานบางคนได้ โดยทำเครื่องหมายที่หน้ารายชื่อของพนักงานที่ต้องการเท่านั้น ก่อนที่จะคลิกปุ่มคำนวณ

กรณีทำการคำนวณหลังจากวันที่จ่ายเงินของงวดปัจจุบัน จะมีข้อความแจ้งเตือนแสดงขึ้นมา ให้ท่านทำการตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าใช่งวดที่ต้องการคำนวณจริงหรือไม่

📄การคำนวณเงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • ต้องกำหนดรายการหักกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่หน้าจอค่าพื้นฐานระบบของระบบเงินเดือน
  • ต้องมีการกำหนดอัตราสะสมของพนักงานท่านนั้นที่หน้าจอข้อมูลเงินเดือน
  • เงินสะสมคำนวณจาก เงินได้ที่เป็นฐานคำนวณเงินสะสม ✖️ อัตราเงินสะสม
📄การคำนวณเงินสมทบกองทุนประกันสังคม
  • ต้องกำหนดอัตราเงินสมทบที่หน้าจอค่าพื้นฐานระบบของระบบเงินเดือน
  • ต้องกำหนดให้พนักงานท่านนั้นคำนวณประกันสังคม(ทำเครื่องหมายในช่องคำนวณประกันสังคม ที่หน้าจอข้อมูลเงินเดือน)
  • เงินสมทบคำนวณจาก
    • ค่าจ้างที่เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ 🟰 ค่าจ้างที่เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบยกมาในเดือน ➕ ค่าจ้างที่เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบงวดปัจจุบัน
    • เงินสมทบทั้งเดือน 🟰 ค่าจ้างที่เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ ✖️ อัตราเงินสมทบ
    • เงินสมทบงวดปัจจุบัน 🟰 เงินสมทบทั้งเดือน – เงินสมทบยกมาในเดือน
📄การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย
  • ต้องกำหนดอัตราภาษีที่หน้าจอค่าพื้นฐานระบบของระบบเงินเดือน
  • ต้องกำหนดให้พนักงานท่านนั้นคำนวณภาษี(ทำเครื่องหมายในช่องคำนวณภาษี ที่หน้าจอข้อมูลเงินเดือน)
  • วิธีคำนวณขึ้นอยู่กับการกำหนดค่าในหน้าจอค่าพื้นฐานระบบ ซึ่งการคำนวณจะของแต่ละวิธีตามตารางด้านล่าง
หัวข้อเฉลี่ยสะสมสะสมเฉลี่ย
การคำนวณ
เงินได้ต่อปี
(เงินได้ประจำงวดปัจจุบัน
✖️ จำนวนงวดต่อปี)
➕ เงินได้ครั้งคราวงวดปัจจุบัน
(เงินได้ประจำงวดปัจจุบัน
✖️ จำนวนงวดที่เหลือ)
➕ เงินได้สะสมยกมา
➕ เงินได้ครั้งคราวงวดปัจจุบัน
(เงินได้ประจำงวดปัจจุบัน
✖️ จำนวนงวดที่เหลือ)
➕ เงินได้สะสมยกมา
➕ เงินได้ครั้งคราวงวดปัจจุบัน
การคำนวณ
ภาษีงวดปัจจุบัน
ภาษีทั้งปี
➗ จำนวนงวดต่อปี
(ภาษีทั้งปี
➖ ภาษีเงินได้ครั้งคราวงวดปัจจุบัน
➖ ภาษีเงินได้ยกมา)
➗ จำนวนงวดที่เหลือ
➕ ภาษีเงินได้ครั้งคราวงวดปัจจุบัน
(ภาษีทั้งปี
➖ ภาษีเงินได้ยกมา)
➗ จำนวนงวดที่เหลือ

⚠️ข้อควรระวัง

  • กรณีมีการคำนวณค่าจ้างใหม่ หรือ แก้ไขจำนวนเงินในหน้าจอแก้ไขข้อมูล ต้องคำนวณภาษีและประกันสังคมใหม่อีกครั้ง
  • ถ้ามีการแก้ไขเฉพาะจำนวนเงินภาษีหัก ณ ที่จ่ายในหน้าจอแก้ไขข้อมูล ไม่ต้องคำนวณภาษีและประกันสังคมใหม่ แต่ผู้ใช้ต้องตระหนักในการแก้ไขนี้ และในขั้นตอนปิดสิ้นงวดจะมีข้อความเตือนว่าท่านยังไม่ได้ทำการคำนวณภาษี และ ประกันสังคม ท่านต้องทำการยืนยันด้วย

หัวข้อในกลุ่มนี้